เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาเสติ ได้แก่ ส่องสว่าง. บทว่า
อุคฺคโต แปลว่า ขึ้นไปแล้ว. บทว่า ปภามาลา ได้แก่ ขอบเขตพระรัศมี.
บทว่า ยถคฺคิ ได้แก่ เหมือนกับไฟ บทว่า อุปาทานสงฺขยา แปลว่า สิ้น
เชื้อ. บทว่า โส จ กาโย รตนนิโภ ได้แก่ พระวรกายของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นมีวรรณะเพียงดังทองนั้นด้วย. ปาฐะว่า ตญฺจ กายํ รตนนิภํ
ดังนี้ก็มี ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. ปาฐะนั้นความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. คาถา
ที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเรวตพุทธเจ้า

6. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ 6



ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า



[7] ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระ
พุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น มีจิต
สงบ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระหฤทัย
ในพระนิเวศน์ของพระองค์ ทรงบรรลุพระโพธิญาณ
สิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา
ในระหว่างมิได้เป็นบริษัทหมู่เดียวกัน ในเพราะการ
แสดงธรรม.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางบริษัทหมู่นั้น. อภิสมัยครั้งที่ 1 นับไม่ได้
ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมต่อจาก
อภิสมัยครั้งที่ 1 นั้น ในการประชุมของมนุษย์และ
เทวดาทั้งหลาย. อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่มนุษย์ และ
เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง
ให้สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น.
พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค
ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรพระองค์นั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.